วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 1






ความหมายและประเภทของคลื่น

คลื่น คือ การส่งผ่านพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่มีการนำพาสสารไปพร้อมกับพลังงาน  
***มีสมบัติการสะท้อน   สมบัติการหักเห  สมบัติการแทรกสอด  และสมบัติการเลี้ยวเบน เป็นพื้นฐาน

การจำแนกคลื่นตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง  แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

1.คลื่นกล (Mechanical Wave)  คือ คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่  เช่น  คลื่นเสียง  คลื่นน้ำ
คลื่นในเส้นเชือก  เป็นต้น

2.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) คือ คลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลาง ได้แก่
คลื่นวิทยุ  คลิ่นไมโครเวฟ คลื่นอินฟาเรด คลื่นแสง คลื่นอัลตราไวโอเลต รังสีแอ็กซ์ และรังสีแกมมาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากัน คือเมตรต่อวินาที

การจำแนกคลื่นตามทิศการเคลื่อนที่ของคลื่นและการสั่นของอนุภาคตัวกลาง    แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 

1.คลื่นตามขวาง (Transverse Wave) คือ คลื่นที่มีทิศการสั่นของอนุภาคตัวกลางตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น  เช่น  คลื่นผิวน้ำ  คลื่นในเส้นเชือก  เป็นต้น





*** หมายเหตุ  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นตามขวาง เพราะสนามไฟฟ้า-สนามแม่เหล็กสั่นตั้งฉาก
 กับทิศการเคลื่อนที่




ส่วนประกอบของคลื่น



เมื่อพิจารณาลักษณะของคลื่นผิวน้ำหรือคลื่นบนเส้นเชือกอย่างต่อเนื่องที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่นอย่างสม่ำเสมอ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งตำแหน่งต่างๆ ของตัวกลาง (ผิวน้ำหรือเส้นเชือก) จะขยับขึ้นลงจากปกติ หรือเรียกว่าแนวสมดุลเดิมถึงตำแหน่งนั้น เรียกว่า การกระจัด (Displacement) (การกระจัด ณ ตำแหน่งใดๆ บนคลื่นหาได้จากความยาวของเส้นตั้งฉากจากระดับปกติถึงตำแหน่งนั้นๆ)
– การกระจัดมีค่าเป็น (+) สำหรับตำแหน่งที่สูงกว่าระดับปกติ
– การกระจัดมีค่าเป็น (-) สำหรับตำแหน่งที่ต่ำกว่าระดับปกติ
รูปที่ 5 แสดงส่วนประกอบของคลื่น
1. สันคลื่น (Crest) คือ ตำแหน่งที่การกระจัดบวกมากที่สุดเหนือระดับปกติหรือตำแหน่งสูงสุดของคลื่น
2. ท้องคลื่น (Trough) คือ ตำแหน่งที่มีการกระจัดลบมากที่สุดต่ำกว่าระดับปกติหรือตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น
3. แอมพิจูด (Amplitude) คือ การกระจัดสูงสุดของคลื่นจากระดับปกติหรือระดับสูงสุดของคลื่น หรือความสูงของท้องคลื่นจากระดับปกติ
ค่าของแอมพิจูดจะบอกค่าของพลังงาน คือ แอมพิจูดมากพลังงานของคลื่นมาก แอมพิจูดน้อยพลังงานของคลื่นจะน้อย
4. ความยาวคลื่น (wavelength) คือความยาวของคลื่น 1 ลูกคลื่น หรือเป็นระยะห่างจากสันคลื่นถึงสันคลื่นติดกัน
5. คาบเวลา (T-Periodic time) คือ เวลาที่จุดใดๆบนตัวกลางสันครบ 1 รอบ หรือเป็นเวลาที่เกิดคลื่น 1 ลูก หรือ เวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ไปไกล 1 ลูกคลื่น คาบมีหน่วยเป็น วินาที (s)
6. ความถี่ (f-Frequency) คือ จำนวนลูกคลื่นที่เกิดขึ้นใน 1 หน่วยเวลา หรือจำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดคงที่ในเวลา 1 หน่วย หรือจำนวนรอบที่อนุภาคตัวกลางเคลื่อนที่ได้ใน 1 หน่วยเวลา และความถี่ของคลื่นจะมีค่าเท่ากับความถี่ของการสั่นของแหล่งกำเนิด หมายความว่าแหล่งกำเนิด 1 รอบจะเกิดคลื่น 1 ลูกคลื่น ความถี่มีความเป็น ลูกคลื่นต่อวินาที, รอบต่อวินาที หรือ เฮิร์ตซ์ Hertz (Hz)
รูปที่ 6 แสดงส่วนของความยาวคลื่น
ตัวอย่างที่ 1 ในเสกลของแผนภาพด้านล่าง แสดงหน้าคลื่นวงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 32 เซนติเมตร ความยาวคลื่นของคลื่นเหล่านี้เท่ากับเท่าไหร่
จากแผนภาพนี้ ระยะทางจากด้านหนึ่งของแผนภาพไปยังอีกด้านหนึ่งของแผนภาพ (ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลาง) เท่ากับ 8 เท่าของความยาวคลื่น
ดังนั้น  ความยาวคลื่นเท่ากับ 32 cm/8  เท่ากับ  4 เซนติเมตร                                                ตอบ

ตัวอย่างที่ 2 จากภาพด้านบน เวลาระหว่างแต่ละภาพไปยังแผนภาพถัดไปเท่ากับ 0.2 วินาที คาบเวลาของคลื่นเท่ากับเท่าไร

จากแผนภาพด้านบน เชือกและมืออยู่ในตำแหน่งเดียวกันในภาพที่ 1 และ 5 เวลาระหว่างภาพทั้งสองภาพนี้เป็น 4 เท่าของ 0.2 วินาที
ดังนั้น คาบเวลา T ของคลื่นจะเท่ากับ  4 x 0.2  = 0.8  วินาที                                                    ตอบ

ความสำพันธ์ระหว่างคาบ (T) และความถี่ (f)

จากนิยามคาบและความถี่
ในเวลา T วินาที คลื่นเคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งได้ 1 ลูกคลื่น
ในเวลา 1 วินาที คลื่นเคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งได้ 1/T ลูกคลื่น
เนื่องจากจำนวนลูกคลื่นที่เกิดขึ้นใน 1 วินาที คือความถี่ (f)
ดังนั้นความถี่และคาบจะสัมพันธ์ตามสมการ
หรือ
ตัวอย่างที่ 3  จากตัวอย่างที่ 2 คาบของคลื่นจะเท่ากับ 0.8 วินาที จงหาความถี่
จาก                      f = 1/T
จะได้                   f = 1/0.8 = 1.25  รอบต่อวินาที หรือในหน่วย Hz                                            ตอบ

อัตราเร็วของคลื่น

เมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นถ่ายทอดพลังงานให้แก่ตัวกลางทำให้เกิดคลื่นขึ้น คลื่นจะเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิด โดยมีทิศทางการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยอัตราเร็วคงที่เมื่อไม่มีการเปลี่ยนตัวกลาง
อัตราเร็วในเรื่องคลื่น แบ่งได้ดังนี้
1. อัตราเร็วคลื่น หรือเรียกว่าอัตราเร็วเฟส   เป็นอัตราเร็วคลื่นที่เคลื่อนที่ไปแบบเชิงเส้น  ซึ่งอัตราเร็วคลื่นกลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน
รูปที่ 7  แสดงการเคลื่อนที่ของคลื่น
สมการที่ใช้
ตัวอย่าง 4  แหล่งกำเนิดคลื่นผิวน้ำสั่นด้วยความถี่ 20 รอบ/วินาที และพบว่าสันคลื่นน้ำ 5 สัน ติดต่อกันห่างกัน 20 ซม. จงหาอัตราเร็วของคลื่นผิวน้ำ
วิเคราะห์โจทย์      ความถี่ของคลื่นผิวน้ำ = ความถี่ของแหล่งกำเนิด = 20 Hz
สันคลื่น 5 สันติดกัน =  4 เท่าของความยาวคลื่น = 20 cm
นั่นคือ ความยาวคลื่น  = 5 cm
วิธีทำ  ต้องการหา v
จากสมการ 
อัตราเร็วคลื่น (v) = 20 x 5
= 100 cm/s
หรือ                                                                                  v = 1 m/s
ดังนั้น   อัตราเร็วของคลื่นน้ำ 1 เมตร/วินาที                                                                                         ตอบ

2. อัตราเร็วของอนุภาคตัวกลาง   เป็นการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก  โดนสั่นซ้ำรอยเดิมรอบแนวสมดุล ไม่ว่าจะเป็นคลื่นกลชนิดตามขวางหรือตามยาว
สมการที่ใช้
1.อัตราเร็วที่สันคลื่นกับท้องคลื่น เป็นศูนย์
2.อัตราเร็วอนุภาคขณะผ่านแนวสมดุล มีอัตราเร็วมากที่สุด
3.อัตราเร็วอนุภาคขณะมีการกระจัด y ใดๆ จากแนวสมดุล
3. อัตราเร็วคลื่นในน้ำ  ขึ้นกับความลึกของน้ำ ถ้าให้น้ำลึก d   จะได้ความสัมพันธ์
4. อัตราเร็วคลื่นในเส้นเชือก  ขึ้นอยู่กับแรงตึงเชือก (T) และค่าคงตัวของเชือก (u) ซึ่งเป็นค่ามวลต่อความยาวเชือก

การเกิดคลื่นและการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก

               การถ่ายโอนพลังงานของคลื่นกล  อนุภาคตัวกลางจะเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกอย่างง่าย ซ้ำรอยเดิมรอบจุดสมดุล ไม่ได้เคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่น  การเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางแบบนี้เราจะเขียนแทนการเคลื่อนที่ของคลื่นแบบรูปไซน์                    (sinusoidal wave) ซึ่งเราสามารถหาค่าปริมาณต่างๆ ได้ ดังนี้

รูปแสดงการเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางขณะคลื่นเคลื่อนที่
ลักษณะการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกอย่างง่าย
1.เป็นการเคลื่อนที่แบบสั่นหรือแกว่งกลับไปกลับมาซ้ำรอยเดิมโดยมีการกระจัดสูงสุดจากแนวสมดุล 
(แอมพลิจูด) คงที่
2.เป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร่งและแรงแปรผันโดยตรงกับขนาดของการกระจัด แต่มีทิศทางตรงข้ามกันเสมอ (แรงและความเร่งมีทิศเข้าหาจุดสมดุล แต่การกระจัดมีทิศพุ่งออกจากจุดสมดุล)
3.ณ ตำแหน่งสมดุล x หรือ y = 0 , F = 0 , a = 0 แต่ v มีค่าสูงสุด
4.ณ ตำแหน่งปลาย x หรือ y , F , a มีค่ามากที่สุด แต่ v = 0
การเคลื่อนที่แบบซิมเปิ้ลฮาร์มอนิกของ สปริง และลูกตุ้มนาฬิกา
 ลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นขณะเวลาต่างๆ (เมื่อ period หรือ คาบ หมายถึงเวลาครบ 1 รอบ)
การบอกตำแหน่งบนคลื่นรูปไซน์ ด้วย เฟส (phase)  เป็นการบอกด้วยค่ามุมเป็นเรเดียน หรือองศา
เฟสตรงกันบนคลื่น  จะห่างจากตำแหน่งแรก 1 Lamda , 2 Lamda , 3 Lamda , …..
เฟสตรงกันข้ามกันบนคลื่น  จะห่างจากตำแหน่งแรก  1/2  Lamda  , 3/2  Lamda  ,  5/2  Lamda , ….
ตัวอย่าง
การซ้อนทับกันของคลื่น
เมื่อคลื่น 2  ขบวนผ่านมาในบริเวณเดียวกัน มันจะรวมกัน  โดยอาศัยหลักการซ้อนทับของคลื่น ( Superposition principle)  การซ้อนทับกันมี 2 แบบ คือแบบเสริม และแบบหักล้าง1. การซ้อนทับแบบเสริม   เกิดจากคลื่นที่มีเฟสตรงกัน เข้ามาซ้อนทับกัน  เช่น สันคลื่น+ สันคลื่น หรือท้องคลื่น+ท้องคลื่น  ผลการซ้อนทับทำให้แอมปลิจูดเพิ่มขึ้นมากที่สุด เท่ากับผลบวกของแอมปลิจูด คลื่นทั้งสอง
2. การซ้อนทับแบบหักล้าง  เกิดจากคลื่นที่มีเฟสตรงกันข้าม เข้ามาซ้อนทับกัน  เช่น สันคลื่น+ ท้องคลื่น  ผลการซ้อนทับทำให้แอมปลิจูดลดลง เท่ากับผลต่างของแอมปลิจูด คลื่นทั้งสอง
ขอขอบคุณเเหล่งอ้างอิง

https://orapanwaipan.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/

https://www.youtube.com/watch?v=GEVXMtkItf8

https://www.youtube.com/watch?v=30ze8eYEx28

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjp6MiTo-XUAhUJP48KHfgWDT8Q_AUICigB&biw=1280&bih=699#tbm=isch&q=%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99&imgrc=8y3YA-FFC6PAyM:

วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หน้าแรก

Home

นาย วราเมธ เหมือนมี ม.6/3 เลขที่ 4
วิทยาศาสตร์ 5 (ว33101)
โรงเรียนเทพลีลา





  • เวลาเรียน 2 คาบ/สัปดาห์

    • จำนวนหน่วย 1 หน่วย
    • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/3-6/7
    • ครูผู้สอน  คุณครูพิพัฒน์พงษ์ สาจันทร์
    • เนื้อหา 
    1. คลื่น
    2. เสียง
    3. คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า
    4.พลังงานนิวเคลียร์

    โพสต์แนะนำ

    หน้าแรก

    Home นาย วราเมธ เหมือนมี ม.6/3 เลขที่ 4 วิทยาศาสตร์ 5 (ว33101) โรงเรียนเทพลีลา เวลาเรียน 2 คาบ/สัปดาห์ จำนวนหน่วย 1 ...