คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้
สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
***สิ่งที่ควรรู้
1. ถ้าเรียงลำดับสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากความยาวคลื่น(λ)มากไปน้อยจะได้เป็น วิทยุ ไมโครเวฟ อินฟราเรด แสง อัลตราไวโอเลต รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา
2. ความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสุญญากาศ(c) มีค่าเท่ากับ 3x10 ยกกำลัง8 เมตร/วินาที
3. ความสัมพันธ์ระหว่าง ความยาวคลื่น(λ ) ความถี่(f) และ ความเร็ว(c) เป็นดังนี้
4. แสง มีความยาวคลื่น 400 nm-700 nm เรียงจากความยาวคลื่นจากน้อยไปมาก คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง
คลื่นวิทยุ
คลื่นวิทยุ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่อยู่ใน
ระบบเอเอ็ม (Amplitude Modulation : A.M.) ความถี่อยู่ในช่วง 530-1600 กิโลเฮิรตซ์ จะเป็นการผสม(Modulate) สัญญาณเสียงเข้ากับคลื่นวิทยุ (คลื่นพาหะ) โดยสัญญาณเสียงจะบังคับให้คลื่นพาหะมีแอมพลิจูดเปลี่ยนแปลงไปตามสัญญาณเสียง คลื่นวิทยุในช่วงความถี่นี้จะสามารถสะท้อนได้ดีที่บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์
ข้อดี คือ ทำให้สามารถสื่อสารได้ไกลเป็นพันๆ กิโลเมตร(คลื่นฟ้า)
ข้อเสีย คือ จะถูกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งอื่นๆ แทรกเข้ามา รบกวนได้ง่าย
ระบบเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : F.M.) ความถี่อยู่ในช่วง 80-108 เมกะเฮิรตซ์ เป็นการผสม(Modulate) สัญญาณเสียงเข้ากับคลื่นวิทยุ (คลื่นพาหะ) โดยสัญญาณเสียงจะบังคับให้คลื่นพาหะมีความถี่เปลี่ยนไปตามสัญญาณเสียง
ข้อดี คือ ทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งอื่นรบกวนได้ยาก
ข้อเสีย คือ สะท้อนบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ได้น้อยมาก ทำให้การส่งกระจายเสียงต้องใช้สถานีถ่ายทอดเป็นระยะๆ (คลื่นดิน)
คลื่นโทรทัศน์และไมโครเวฟ
คลื่นโทรทัศน์และไมโครเวฟ มีความถี่ในช่วง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjH7A0hOhScDfbrypo-BBRKoWuZVHL2Rlk_PkKtFg7cLWV8KxqXm5GkVi8t-635s6_1Tz1jtu0UXIwBt8OaZ3sHaHarapnvY0B7NemLfcJU4Q97iqBCdpP82ruJFeoqfnaDIMYBUrcGQPgA/s1600/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3+2.bmp)
รังสีอินฟราเรด
รังสีอินฟราเรด มีความถี่ในช่วง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEis22nKdrtkJwFKv_oMalcKOPTPJkYYjS3tXe_6IaPgeNbN3CqyJuUSGNGjgVO5k7TKKauwT4V8U2qZwMXaw1UFUVXs1w8FqUjdGzHYdHskd32XqmD9qIbUfL6YDzpAR18YQxp3do0qbcmZ/s1600/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3+3.bmp)
นอกจากนี้รังสีอินฟราเรดยังใช้ในรีโมทคอนโทรล (Remote control) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมระยะไกลในกรณีนี้รังสีอินฟราเรดจะเป็นตัวนำคำสั่งจากอุปกรณ์ควบคุมไปยังเครื่องรับ และใช้รังสีอินฟราเรดเป็นพาหนะนำสัญญาณในเส้นใยนำแสง (Optical fiber) ปัจจุบันทางการทหารได้นำรังสีอินฟราเรดนี้มาใช้ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของอาวุธนำวิถีให้เคลื่อนที่ไปยังเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
แสง
แสง มีความถี่ประมาณ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgwUAP7UeM4mSoE15Q8Wo1a4aWdPsllkMFPon-7DywhndiwVL4WtWIR89TD0TzWBjwv0qB-Jq0OWCx0DvDrefmk67tDNEzL4tmVTYzWNYr5Rc8qLuNaAvR6hcJ5OSjyrB0u4x9C-asLwTpo/s1600/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3+4.bmp)
รังสีอัลตราไวโอเลต
รังสีอัลตราไวโอเลต มีความถี่ในช่วง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgUvpUbWARJCovFRbe5_omok9IyTQT9wqoKHnTgwS9muY8Tx2j2Ia22qKPJF8963SsquPBTuyHq71tW-XK11a59bTwuCXzcaSoEAddJSd5Gj-VwXfbOZrPYcVrXsnri6r00FvQLdlA1i1fr/s1600/untitled.bmp)
ประโยชน์ของรังสีอัลตราไวโอเลต คือ ใช้ตรวจสอบลายมือชื่อ,ใช้รักษาโรคผิวหนัง,ใช้ฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้,ใช้ในสัญญาณกันขโมย แต่รังสีอัลตราไวโอเลตถ้าได้รับในปริมาณที่สูงอาจทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ผิวหนังเป็นมะเร็งผิวหนัง และเป็นอันตรายต่อนัยน์ตาของมนุษย์ได้
รังสีเอกซ์
รังสีเอกซ์ มีความถี่ในช่วง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhJKP0RvYm24K9mzewjyzePAgRmL0Jb9UkubUE00UXW592wvgBhl8R27h9NhmY9XzjvEafPaZabwppXwHpvnAcz6-2aufFfXQygCX1q6zaQkax9SZ7omLUysZzyP3W3SDwgAQwcePTqTPiC/s1600/2.bmp)
รังสีแกมมา
รังสีแกมมา ใช้เรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงมากกว่ารังสีเอกซ์ เกิดจากการสลายตัวของนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสี หรือเป็นรังสีพลังงานสูงจากนอกโลก เช่น รังสีคอสมิกและบางชนิดมาจากการแผ่รังสีของประจุไฟฟ้าที่ถูกเร่งในเครื่องเร่งอนุภาค (Cyclotron) มีอันตรายต่อมนุษย์มากทีึ่สุด เพราะสามารถทำลายเซลล์สิ่งมีชีวิตได้ แต่สามารถใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งได้
วิดีโอความรู้เรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ขอขอบคุณข้อมูลความรู้,รูปภาพ,วิดีโอ
1. จากเอกสารประกอบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์(คุณครูพิพัฒน์พงษ์ สาจันทร์)
2. ข้อมูลความรู้เป็นวิดีโอจากช่องยูทูป ของคุณครูพิพัฒน์พงษ์ สาจันทร์
3. http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/17/2/EMW.htm
4. http://www.gisthai.org/about-gis/electromagnetic.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น